Notice: Undefined index: HTTP_REFERER in /home/naradee/domains/naradee.com/public_html/config.php on line 2
ถ้ารักพื้นบ้านกันจริง ก็อย่าเผลอทิ้งเรื่อง “เคลือบยาแนว”
Back
ถ้ารักพื้นบ้านกันจริง ก็อย่าเผลอทิ้งเรื่อง “เคลือบยาแนว”
19 | 05 | 2020


ถ้ารักพื้นบ้านกันจริง ก็อย่าเผลอทิ้งเรื่อง “เคลือบยาแนว”

ใครๆ หลายคนอาจจะมาถูกทาง ในการสะสางปัญหาตาม “ร่องยาแนว” อันเป็นหนึ่งในเรื่องของพื้นบ้านสุดกวนใจ ด้วยการเลือกใช้ปูนยาแนวที่มีส่วนผสมของสารป้องกันเชื้อรากันมาบ้างแล้วก็จริงอยู่

แต่เคยรู้มั้ยว่า... ทำไม๊! ยังมีเจ้าเชื้อราโผล่มาให้เห็นกันอยู่เป็นประจำ หนำซ้ำยังกลับทำความสะอาดได้ยากขึ้นซะอีกงั้นล่ะ?

และเพื่อเป็นการคลายสงสัย เราขอย้อนกลับไปในปี 2011 โดยสถาบัน Swedish Chemical Inspectorate ได้ทำการทดสอบการป้องกันเชื้อรา และกลิ่นเหม็นอับชื้นบนเสื้อผ้า ด้วยการเติมแต่งสารในกลุ่ม Silver based* ลงไป และทดลองทำการซักล้าง
(*โดยเฉพาะกับชนิดที่เราคุ้นหูกันดีที่ใช้เป็นส่วนประกอบในผงซักฟอกชื่อ Silver-Nano และยังนับเป็นสารกลุ่มเดียวกับที่อยู่ในปูนยาแนวสูตรป้องกันเชื้อราอีกด้วย)

ผลปรากฎว่า หลังจากเสื้อผ้าเหล่านั้น ผ่านการซักไปเพียงแค่ 3 ครั้ง ก็กลับสามารถชะล้างสารดังกล่าวออกไปได้มากกว่า 43% และจะถูกชะล้างได้สูงสุดกว่า 98% เมื่อผ่านการซักล้างหลังในครั้งที่ 10 เป็นต้นไปเลยทีเดียว

ซึ่งยังนับว่า เป็นผลที่สอดคล้องกับงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในปี 2008 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สารที่ถูกผสมไว้ในปูนยาแนวอย่าง silver zeolite นั้น ก็สามารถถูกชะล้างได้ตามกาลเวลาไปเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการใช้งาน และทำความสะอาดอยู่เป็นประจำทั้งในโซนของห้องน้ำ และห้องครัว

จึงทำให้ทั้งคราบไขมัน หรือสิ่งสกปรกหลังการชำระล้าง ซึ่งนับเป็นแหล่งอาหารอันโอชะของเจ้าเชื้อรานั้น สามารถฝังตัวอยู่บนร่องยาแนวได้มากขึ้น โดยปราศจากสารยับยั้งที่มีอยู่ในยาแนวแล้วนั่นเอง

นั่นจึงเป็นเหตุผลสำคัญ... ให้การดูแลร่องยาแนวตามแบบฉบับกูรูทางต่างประเทศ จึงนิยมใส่ขั้นตอนของการดูแลร่องยาแนวที่ดีที่สุด ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ “เคลือบยาแนว**” เข้าไปด้วย

เพื่อช่วยป้องกันปัญหาต่างๆ ทั้งจากคราบสะสมฝังแน่น อันเป็นสาเหตุของการเกิดเชื้อรา หรืออาการหนักจนถึงขึ้นเกิดการหลุดร่อน และอาจทำให้พื้นบ้านมีการผุพังได้เลยทีเดียว

(**เหมาะสำหรับชนิดที่เป็นปูนยาแนว)

รู้ยังงี้แล้วใคร...
ถ้ารักพื้นบ้านกันจริง ก็อย่าเผลอทิ้งเรื่อง “เคลือบยาแนว” กันเชียวนะ