Notice: Undefined index: HTTP_REFERER in /home/naradee/domains/naradee.com/public_html/config.php on line 2
วิทยาศาสตร์กับการ “กำจัดเชื้อรา” (ในห้องน้ำ)
Back
วิทยาศาสตร์กับการ “กำจัดเชื้อรา” (ในห้องน้ำ)
23 | 04 | 2020

วิทยาศาสตร์กับการ “กำจัดเชื้อรา” (ในห้องน้ำ)

มีใครเคยรู้บ้างมั้ยว่า “เจ้าราดำเคยคร่าชีวิตเด็กทารก!!!”
แม้ว่ามนุษย์เราจะรู้จักกับเจ้าเชื้อ Stachybotrys chartarum หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “เชื้อราดำ” มานับตั้งแต่ปี 1837 แล้วก็ตาม (ค้นพบโดย August Carl Joseph Corda นักฟิสิกส์และพฤกษศาสตร์ชาวเช็ก) แต่ใครต่อใครกลับทำเฉยเมย และไม่เคยตื่นตัวถึงความเป็นพิษอันร้ายแรงของมัน จนกระทั่งกาลครั้งหนึ่ง “มันได้คร่าชีวิตของเด็กทารก”

หนึ่งในข่าวอันน่าเศร้าดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงปี 1994 ณ เมืองคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ เมื่อศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ โดย US Center for Disease Control ได้ทำการยืนยัน และประกาศต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการว่า สาเหตุของการมีเลือดออกในปอด (อาการของโรค pulmonary hemosiderosis) ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กวัยแรกเกิดจำนวนหนึ่ง และทวีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตนั้น ได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นผลมาจากการได้รับสปอร์ของเชื้อราดำ หรือเจ้าของฉายา “toxic black mould” ในระดับที่สูงมาก โดยส่วนใหญ่มักพบตามกำแพง หรือผนังห้องน้ำนั่นเอง

โดยในปัจจุบัน ยังมีการตรวจพบกลุ่มของราดำประเภทนี้ได้อีกกว่า 40 สายพันธุ์ ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีตามผนังห้องน้ำห้องครัว, วอลเปเปอร์ หรือแม้กระทั่งในอาหาร โดยความเป็นพิษที่เชื้อเหล่านี้สร้างขึ้นมา สามารถส่งผลต่อร่างกายของมนุษย์ได้ตั้งแต่ในระดับของการเป็นภูมิแพ้ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ในบางกรณี

แม้ว่าลักษณะเฉพาะตัวของมันจะมีอัตราการเติบโตที่ช้า แต่ด้วยความสามารถในการคงทนต่อสภาวะต่างๆ ได้ดี และการมีสปอร์กระจายอยู่โดยรอบตามธรรมชาตินั้น เลยทำให้แนวโน้มการแพร่กระจายของเชื้อดังกล่าว จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ “ความชื้นสูง”

เพราะเมื่อพื้นที่ใดๆ เริ่มเกิดปฏิกิริยา และกระบวนการกลั่นตัวของน้ำ อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของอุณหภูมิ และปริมาณความชื้นในอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป จึงอาจส่งผลให้พื้นที่นั้นๆ มีค่าความชื้นที่สูงเกินกว่า 60% ซึ่งหากเป็นบริเวณอับแสง หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวกร่วมด้วยแล้ว ก็นับว่าเป็นการเพียงพอ และต่อยอดให้จุดนั้นๆ ได้กลายเป็นดั่งโรงงานผลิตเชื้อราชั้นดีเลยก็ว่าได้

เราจึงมักพบเจอเจ้าภัยร้ายตัวฉกาจเหล่านี้ ได้ที่บริเวณฝาผนังในห้องครัวหรือห้องน้ำ โดยเฉพาะตามร่องยาแนวที่สามารถสังเหตุเห็นได้เป็นคราบดำๆ หรือหากเข้าขั้นโคม่า ก็อาจเริ่มเห็นเป็นปุยๆ สีเทาดำ และนั่นคือสัญญาณของความพร้อมในการแพร่กระจายเชื้ออย่างสมบูรณ์แล้วนั่นเอง

แม้คำตอบของคนส่วนใหญ่ จะมีการแนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชู หรือเบคกิ้งโซดา และในเชิงวิทยาศาสตร์ก็นับได้ว่า เป็นสารเคมีที่มีความเป็นกรดที่สามารถ “ยับยั้ง” (inhibits) การเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้ดีเลยทีเดียว แต่การนำมาประยุกต์ใช้เข้ากับพื้นที่แนวตั้ง และลักษณะความพรุนในโครงสร้างของตัวยาแนว (เชื้อราเกิดการสะสมฝังแน่น และกำจัดได้ยากกว่าจุดอื่นๆ) จึงมักได้รับคำแนะนำว่า “ให้ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง หากผลที่ได้รับยังไม่เป็นที่น่าพอใจ” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ นอกจากการต้องทนกับกลิ่นฉุนจนชวนเวียนหัวจากสารดังกล่าวแล้ว ยังอาจต้องมาลุ้นอีกครั้งว่า จะได้ผลหรือจะทำให้ราดำกลับมาขึ้นซ้ำได้ในอีกเร็ววันมากน้อยเพียงใดด้วย

ฉะนั้น อีกหนึ่งทางเลือกเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนิยมใช้กันเป็นอย่างมากในทางฝั่งยุโรปนั้น* คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารทำความสะอาดกลุ่ม Chlorine bleach ซึ่งเหมาะสำหรับงาน D.I.Y และได้รับการยืนยันว่า สามารถ “ฆ่า” (destroy) เชื้อรา ได้ตั้งแต่ในระดับของสปอร์กันเลยทีเดียว

*ความชื้นที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายในและนอกอาคาร จึงทำให้บ้านเรือนในแถบนั้น ต้องรับมือพร้อมทั้งแก้ไขปัญหาเชื้อราที่สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกจุด เช่น ขอบหน้าต่าง, วอลเปเปอร์, ชั้นใต้ดิน ฯลฯ)

สุดท้ายนี้เราขอฝาก 7 ทริคง่ายๆ เพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณสามารถจำกัดบริเวณที่อาจมีการสะสมของความชื้น จนอาจนำไปสู่ปัญหาของการเกิดราดำ ดังนี้

1. เปิดประตูและหน้าต่างให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้แน่ใจว่ามีอากาศถ่ายเทภายในบ้านอย่างเหมาะสม
2. เปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้อย่างน้อย 20 นาที หลังจากการอาบน้ำ เพื่อเป็นการระบายความชื้นให้ออกสู่ภายนอก
3. หลังจากการอาบน้ำ พยายามเช็ด, เปิดพัดลมดูดอากาศ หรือเป่าด้วยพัดลม ในพื้นที่โซนเปียกของห้องน้ำ
4. พยายามตากผ้าเช็ดตัวให้แห้งหลังจากใช้ เพราะผ้าที่เปียกชุ่มนั้น ย่อมส่งผลต่อระดับความชื้นในห้องน้ำด้วย
5. หมั่นตรวจสอบจุดการรั่วไหลของน้ำในบริเวณรอบๆ (รวมทั้งห้องครัวด้วยนะ)
6. เลือกใช้ยาแนวที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อรา
7. ใช้ HG mould spray หรือผลิตภัณฑ์กำจัดราดำโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการทำความสะอาด และป้องกันการเกิดซ้ำได้อย่างถูกสุขอนามัย