naradeeSTORE
EN
TH
EN
TH
HOME
PRODUCTS
PROMOTION
NEWS & ARTICLES
CATALOG
WARRANTY REGISTRATION
CONFIRM PAYMENT
CONTACT US
EN
TH
×
Search
Search
Back
หากเบื่อ “#คราบน้ำ” ...ก็จงนำพาร่างไปอยู่ดาวพลูโต!!!
03 | 08 | 2020
✨ หากเบื่อ “#คราบน้ำ” ...ก็จงนำพาร่างไปอยู่ดาวพลูโต!!!
แม้ในหลายบ้านจะมี “คราบน้ำ” เป็นปัญหาสุดกวนใจ ทั้งยังอยู่ใกล้เสียยิ่งกว่า ค่าฝุ่นละออง PM 2.5
หรือ ใกล้จนขนาดที่ชวนทึ่งกันได้ว่า...
มนุษย์อย่างเราๆ นั้น มีวิวัฒนาการของ #การขจัดคราบ กันมานานร่วมกว่า 2,000 ปีแล้ว
โดยเรื่องราวอันน่าเหลือเชื่อที่มีการบันทึกผ่านหนังสือชื่อ You need only one soap--Ivory soap ได้เผยให้เห็นกันตั้งแต่จุดเริ่มต้น...
จากปฐมบทของ “ฟินิเซียน” ชาวกรีกโบราณกลุ่มแรกที่รู้จัก “วิธีการทำสบู่” จนนำไปสู่การค้นพบ “#น้ำยาทำความสะอาด” ในปี 1916 ของ Franz Gunther นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน
พร้อมการกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการของ “สารลดแรงตึงผิว” อันเป็นส่วนผสมทางเคมี และมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาสูตรกันมาจนถึงทุกวันนี้
เมื่อคราบน้ำไม่ใช่เรื่องใหม่
ก็ลองมาทำความเข้าใจ... ให้ถ่องแท้กว่าชาวฟินิเซียนกันไปซะเลยสิ!!!
▶ #CaและMgในสายธาร
เปิดไทม์แมชชีน พร้อมย้อนอดีตไปสู่เรื่องราวน้ำ สมัยชั้น ป.5 ยังพอมีใครจำกันได้มั้ยว่า...
เบื้องหลังความใสบริสุทธิ์ของน้ำประปาที่ยืนยันได้จากทั้ง National Academy of Sciences และการประปานครหลวง ว่า...
สายน้ำธรรมชาติเหล่านี้ นอกจากสามารถใช้ได้ทั้งการอุปโภคและบริโภค โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแล้วนั้น
ใน “#น้ำกระด้าง” หรือชื่อที่คุ้นหูว่า “น้ำประปา” ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุอย่างแคลเซียม และแมกนีเซียมอยู่เป็นจำนวนมากที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
▶ #กาลเวลาและปฏิกิริยาตามธรรมชาติ
ก่อนสายน้ำอันเสมือนเส้นนำทางแห่งชีวิต จะถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการดื่มกิน และปรณิบัติชำระล้างต่างๆ นาๆ นั้น
ในระหว่างที่ผ่านวิถีแห่งกาลเวลา ได้เกิดปฏิกิริยาตามธรรมชาติ จนเป็นเหตุให้แร่ธาตุส่วนใหญ่ของทั้งสองชนิดนี้ (แคลเซียมและแมกนีเซียม) เกิดการตกตะกอนขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง
ซึ่งนับเป็นร่องรอยของกระบวนการทางเคมี หรือตามสิ่งที่เราเข้าใจ และเรียกกันจนติดปากว่า “คราบน้ำ”
ซึ่งการปล่อยคราบน้ำ หรือคราบเกลือนั้นๆ ทิ้งไว้นานวัน ก็จะกลายผันเปลี่ยนหน้าปรับตาเป็น “#คราบหินปูน” ลักษณะผลึกแข็งคล้ายซีเมนต์ หรือคราบชอล์คสีขาวๆ (ลองสังเกตุได้ตามก็อกน้ำ ฝักบัว หรืออ่างล้างมือ)
หรือหากผ่านการให้ความร้อนอย่างกาต้มน้ำ และเครื่องชงกาแฟ ก็จะเห็นเป็นเกร็ดสีขาวๆ เกิดขึ้นโดยรอบในชื่อของ “คราบตะกรัน”
ยิ่งคราบพวกนั้น เข้าไปฝังแน่นตามความพรุนของพื้นผิว หรือผ่านการชะล้างที่สะสมไว้ทั้งคราบไคล ไขมัน และสิ่งสกปรกต่างๆ
จนอาจพบการจับตัวเป็นเมือกๆ หรือคราบเหลืองๆ ร่วมด้วยแล้ว ยังสามารถสร้างความเสียหายแก่ทั้งวัสดุภายใน และยากต่อการกำจัดอีกด้วย (ท่อระบายน้ำ อ่างล้างมือ เครื่องซักผ้า ฯลฯ)
▶ #ว่ากันตามกูรูฉบับดั้งเดิม
แม้จะก้าวเข้าสู่ปี 2019 แล้วก็ตามที แต่สารพันวิธีของการขจัดคราบต่าง ๆ กลับยังวนเวียนอยู่บนความเข้าใจในแบบฉบับออริจินัล
ด้วยการให้ทดลองใช้พระเอกครอบจักรวาลอย่างโซดาไฟ หรือน้ำส้มสายชูโดยทันที
แม้ว่าจะรู้กันเป็นอย่างดี ถึงเรื่องกลิ่น และฤทธิ์ของความเป็นกรด
แต่ด้วยการให้ผลลัพธ์แทบจะในทันตาเห็น จึงมักกลายเป็นคำตอบของใครๆ ที่มักจะมาก่อนความเข้าใจอยู่เสมอ
พร้อมเหตุผลสนับสนุนในราคาที่ซื้อง่ายหาง่าย และบ้านไหนๆ เขาก็ใช้กัน
จนบางครั้ง... ก็อาจลืมอะไรบางอย่างไป!
▶ #ไม่เคยมีหมอคนไหนให้ทำคีโมเพราะคุณเป็นไข้หวัด
หากเปรียบบ้านแสนรักดั่งตัวคุณ เปรียบจุดที่เกิดคราบน้ำดั่งอาการคัดจมูก...
ฉะนั้น การทำคีโมก็อาจยังมิใช่คำตอบของการรักษา เพราะนอกจากจะไม่ตรงจุดแล้ว ด้วยฤทธิ์ของยาที่รุนแรง ยังอาจส่งผลต่ออวัยวะภายในส่วนอื่นๆ ได้อีกด้วย
ซึ่งนับเป็นหลักการที่ใกล้เคียงกับการขจัดคราบที่ถูกต้องเป็นอย่างมาก เพราะการเริ่มต้นด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์เข้มข้นสูง และรุนแรงจนเกินไป
สุดท้ายก็อาจเป็นผลเสีย และย้อนกลับไปทำลายจุดอื่นๆ แทนได้ทั้งวัสดุต่างๆ รวมทั้งกลุ่มยาแนว ซิลิโคน หรือพลาสติกบางชนิด อีกด้วย
(ฉลากของ HG จึงมีคำแนะนำอยู่บนฉลากว่า ควรทดสอบบนพื้นที่เล็กๆ ก่อนเสมอ)
เมื่อ “คราบน้ำ” สุดกวนตา...
กลับกลายเป็นเรื่องธรรมดาสุดกวนใจ
และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่บนโลก
การดูแลด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ จึงนับเป็นของคู่กันที่เกิดมานานนับตั้งแต่อดีตกาล
ฉะนั้น...
การหนีไปดาวพลูโต จึงอาจเป็นคำตอบของคนที่ไม่ค่อยชอบความสะอาดก็เป็นได้