Notice: Undefined index: HTTP_REFERER in /home/naradee/domains/naradee.com/public_html/config.php on line 2
เล่น แร่ แปร ธาตุ “#ซิงค์”
Back
เล่น แร่ แปร ธาตุ “#ซิงค์”
09 | 04 | 2020
มหากาพย์แร่ธาตุจากต้นกำเนิดในยุคโรมัน ซึ่งถูกค้นพบหลังจากที่มนุษย์สามารถเรียนรู้วิธีการใช้ประโยชน์จากแร่ทองแดง ตะกั่ว และเหล็กกล้า ได้เป็นผลสำเร็จ
โดยในรายงานของ Encyclopaedia Britannica ได้ช่วยให้เราเข้าใจได้เป็นอย่างดี ถึงเรื่องราวที่นับมาตั้งแต่ยุคบุกเบิกกันเลยว่า…

เจ้าของหมายเลขอะตอม 30 บนตารางธาตุอย่าง “#สังกะสี” หากสามารถย้อนเวลากลับไปได้กว่า 200 ปี ก่อนคริสตกาลนั้น
ครั้งหนึ่งเคยกลับถูกตีตราให้เป็นแค่ “false silver” หรือในชื่อที่เรียกขานกันว่า “pseudargyras” อันมีค่าเป็นเพียงส่วนผสมในการหลอมขึ้นรูปทองเหลืองเท่านั้น (นับได้ว่ามีประโยชน์น้อยมาก)

จนกาลเวลานำพาไปสู่ความน่าอัศจรรย์ เมื่อมีการค้นพบร่องรอยแห่งอารยธรรมกรีกโบราณที่มีอายุร่วมกว่า 2,000 ปี ณ ใต้พื้นดินบริเวณแถบเมืองทรานซิลเวเนีย
เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็น “ข้าวของเครื่องใช้จากโลหะสังกะสีที่มีความเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการสำรวจเจอ” โดยยังคงค่ามวลธาตุที่ยังหลงเหลืออยู่ถีง 87.5% ซึ่งนับว่ามีความคงทนมากๆ

ซึ่งในเวลาต่อมา ก็ยังคงมีการสำรวจพบเศษซากกำไลเงิน และเหรียญกษาปณ์ที่ทำจากสังกะสีเพิ่มเติมจากชายฝั่งของเกาะโรดส์อีกด้วย (ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของประเทศตุรกี)
เมื่อวิวัฒนาการดังกล่าว มิได้จบลงแค่การจารึกเพียงในอดีต แต่ยังพบรอยต่อและความเชื่อมโยงมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังนับเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมด้านโลหะเลยก็ว่าได้

เมื่อรายงานที่อ้างอิงตามการบันทึกของ The International Zinc Association (IZA) มีการระบุไว้อย่างชัดเจนผ่านเหตุการณ์ในช่วงศตวรรษที่ 14 ว่า
การผสานองค์ความรู้จักหลากหลายแขนงทั่วโลก โดยเฉพาะวิธีการหลอมโลหะของประเทศอินเดีย และการวิเคราะห์ลักษณะจำเพาะในประเทศจีนนัั้น นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยบรรจบคุณสมบัติของสังกะสีได้อย่างสมบูรณ์ จนทำให้เกิดเป็นแรงขับเคลื่อนให้กับโลกอุตสาหกรรมได้อย่างไม่มีวันย้อนกลับ
ผ่านผลงานทางวิศวกรรมหลายแขนง ตั้งแต่อุปกรณ์ภายในบ้านอย่างก๊อกน้ำ ไปจนถึงขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนของอากาศยานอื่นๆ อีกมากมาย
และเบื้องหลังดัชนีชี้วัดการใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุสังกะสีทั่วโลกในปี 2013 ที่พุ่งทะยานสูงถึงกว่า 13 ล้านตัน มีการวิเคราะห์ว่า ปริมาณกว่า 60% ของมวลรวมนั้น ถูกใช้ในกระบวนการหลอมชุบโลหะ เพื่อเป็นการเสริมคุณสมบัติด้านการป้องกันการกัดกร่อน และช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับชิ้นส่วนต่างๆ นั่นเอง

โดยเฉพาะ “ความแข็งแกร่ง” ที่ได้รับการหลอมรวมจากผลผลิตของเหล็กกับสังกะสีนั้น ยิ่งนับได้ว่าเป็น หยินหยางแห่งงานอุตสาหกรรมของทุกวันนี้เลยก็ว่าได้
เพราะองค์ความรู้อันหยั่งรากลึกเหนือกาลเวลา ทำให้การผสานระหว่างโลหะธาตุทั้งสอง จากทั้งความเหนียวแน่น แข็งแรง และความคงทนของเหล็ก เมื่อถูกผนึกรวมเข้ากับแร่ธาตุที่ทนต่อความเปียกชื้น และสภาวะของการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดีอย่างสังกะสีแล้วนั้น
จึงกลายอีกหนึ่งนิยามที่เราสามารถพบเจอได้ในความมั่นคงรอบๆชีวิต อาทิ ราวกั้นขอบทาง สะพานข้ามแม่น้ำ สถานีส่งไฟฟ้า …
หรือแม้กระทั่งในตัวกุญแจของรุ่น M176EURDLH*** ของ MasterLock