Back
ศาสตร์ของ “คน รักษ์ พื้น บ้าน”
24 | 11 | 2021

เพราะจุดตัดระหว่าง “การดูแลวัสดุปูพื้นบ้าน” กับความเข้าใจใน “ศิลปะแห่งการขจัดคราบ” อาจเปรียบได้ดั่งพื้นฐานให้กับนิยามของ คนรักบ้าน อย่างแท้จริงอยู่เสมอ

แต่คงน่าเสียดายไม่น้อย… หากในตอนสุดท้ายของกลุ่มคนโดยทั่วไป กลับยังใส่ใจเพียงแค่การนั่งนับวันพลันตั้งตารอต่อการมาถึงในช่วงเวลาของการรีโนเวท
มากกว่าที่จะเห็นเป็นประเภทของ “Cleaning, Protecting & Beautifying” อันเป็น The King of Concept
จาก HG เพื่อการดูแลบ้านแบบ D.I.Y ได้อย่างครบวงจรมากที่สุด!!!

โดยเฉพาะในเรื่องของวัสดุปูพื้นบ้านทุกชนิด!!! ย้ำว่าทุกชนิด!!!

และเพราะองค์ประกอบในตัวโครงสร้างของวัสดุที่แตกต่างกันนี้เอง จึงทำให้วิธีการดูแลพื้นผิว และการจัดการกับปัญหาของการเกิดคราบนั้น
จึงต้องการความเข้าใจในแบบฉบับของ “คนรักษ์พื้นบ้าน” ในชนิดที่อาจเรียกได้ว่า “ให้มันได้รู้ลึกลงไปถึงในระดับของรูพรุนสักครั้ง… ก็น่าจะดี”




#เข้าใจให้ลงลึกถึงในระดับของรูพรุน

เมื่ออีกนัยหนึ่งในเรื่อง “ขนาดของรูพรุน” หรือ Porous นั้น สามารถเปรียบได้ดั่งดัชนีชี้วัดถึงความสามารถต่อการดูดซับ
และอัตราการไหลของของเหลว (บางคนอาจลืมนึกถึงเรื่องนี้ไป แต่อย่างไรก็ดี เรื่องนี้กลับมีผลกับเรื่องคราบเป็นอย่างมากนะ)
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นพื้นกระเบื้อง พื้นไม้ หรือพื้นหินธรรมชาติใดๆ ก็ตามที หากยิ่งพบเจอกับการทำความสะอาดที่ไม่ดี และมีสิ่งสกปรกต่างๆ
ถูกปล่อยปะละทิ้งเอาไว้อยู่นานวัน หรือแม้กระทั่งอันมีมูลเหตุจากการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีในบางกรณีร่วมด้วยแล้ว 

เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ย่อมเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน และยิ่งส่งผลต่อการเกิดคราบสกปรกสะสมฝังแน่น
รวมทั้งมักจะเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การเป็นคราบด่าง สีไม่สม่ำเสมอ หรือสังเกตุเห็นได้ถึงความขุ่นหมองกันได้แบบถาวรนั่นเอง




#ชั้นหน้าผิวถูกทำลายอะไรๆก็ดูแย่

ไม่ว่าจะเกิดจากการใช้พื้นที่นั้นๆ เพื่อการสัญจรไปมาอยู่เป็นประจำ หรือการทำความสะอาดอย่างไม่ถูกวิธี
เช่น การเคยลองขจัดคราบหนัก ด้วยการใช้สารที่มีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างสูง แล้วภาวนาให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นหายไป
แต่ทันใดนั้น สารเจ้ากรรมอาจช่วยให้คราบหนักเหล่านั้นหายไปได้ก็จริง แต่กลับกลายเป็นการทิ้งความเสียหายไว้ให้กับชั้นเคลือบผิวที่มักจะมีการหลุดหล่อนออกไปด้วยเช่นกัน 

ซึ่งยิ่งส่งผลให้ภาพรวมนั้นแลดูแย่ลงอย่างเป็นทวี เพราะเมื่อพื้นที่ ณ จุดนั้นๆ มีการเสียสภาพของโครงสร้างจากการขัดถู
หรือการกัดกร่อนอย่างรุนแรงและบ่อยครั้ง ผลสุดท้ายจึงมักแสดงออกมาให้เราเห็นได้ในรูปของการเกิดรอยแตกร้าว,
เกิดคราบสกปรกสะสมได้ง่ายขึ้น หรือสังเกตุเห็นความเข้มของสีพื้นผิวที่เริ่มจะดูไม่สม่ำเสมอ เพียงเพราะก่อนหน้านี้เผลอไปเชื่อกูรูผู้รู้อยู่แต่นอกตำราก็เป็นได้



#เสียเวลาน้อยกว่าถ้ารู้จักคราบนั้นมากกว่าใคร

เพราะการรู้จักคราบ และสาเหตุต่างๆ ที่มากพอ ก็จะช่วยให้คุณเสียเวลาไปกับเรื่องเหล่านี้ได้น้อยลงเป็นอย่างมาก
เพราะคราบที่เราเห็นๆ กันนั้น ในบางกรณีก็อาจจะยาก หรืออาจต้องใช้ขั้นตอนที่พิเศษสุดๆ เพื่อการขจัดคราบเหล่านั้นให้ออกไปได้นั่นเอง

ซึ่งคราบโดยทั่วไปบนโลกนั้น สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 ประเภท คือ



1. คราบอินทรีย์ หรือ Organic stains

หมายถึง คราบที่มักเกิดขึ้นจากกระบวนการของจุลินทรีย์ต่างๆ ทั้งที่มาจากอาหาร เครื่องดื่ม พืชพันธุ์ต่างๆ
รวมทั้งกลุ่มของสารที่มีสีย้อมด้วยในบางกรณี อาทิเช่น คราบจากไวน์ คราบจากเชื้อรา คราบจากน้ำมัน ฯลฯ

โดยส่วนใหญ่ของคราบในกลุ่มนี้ หากได้รับการทำความสะอาดอย่างทันถ่วงที ก็จะสามารถช่วยลดการเกิดคราบสะสมได้เป็นอย่างมาก 

เพราะเคยมีการทดสอบเรื่อง อัตราการดูดซับ และผลจากอัตราการไหลของของเหลว ด้วยการหยดน้ำมันทิ้งไว้บนพื้นหินอ่อน
และพื้นคอนกรีต แล้วทำการทิ้งไว้เป็นเวลาหลายวัน พบว่า เมื่อลองพลิกดูอีกด้านของวัสดุ จะสามารถสังเกตุเห็นถึงคราบรอยเปื้อนนั้น
กำลังมีการขยายตัว และเริ่มขยายเป็นวงกว้าง รวมทั้งซึมลึกลงในระดับของชั้นใต้พื้นผิวกันเลยทีเดียว
(ซึ่งเป็นจุดสังเกตุที่ดีให้กับพื้นที่ในการทำอาหารอย่างห้องครัว และห้องรับแขก ในเรื่องของคราบน้ำมัน น้ำอัดลม หรือคราบซอสนั่นเอง)



2. คราบอนินทรีย์ หรือ Inorganic stains

โดยคราบส่วนมากในกลุ่มนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับการทำปฏิกิริยา หรือการออกซิไดซ์กันของน้ำ ออกซิเจน และแร่ธาตุโลหะตามธรรมชาติ
ตัวอย่างเช่น ธาตุเหล็ก (Iron) ซึ่งอยู่ภายในโครงสร้างของตัววัสดุอย่างพื้นหินธรรมชาติ หรือพื้นกระเบื้องบางชนิด โดยสาเหตุดังกล่าว
มักจะปรากฏออกมาในรูปของ คราบสนิมสีน้ำตาลหรือแดง ซึ่งหากได้รับการขจัดคราบด้วยน้ำยาที่ไม่มีคุณภาพ
ก็อาจยิ่งทำให้คราบใหม่เกิดขึ้นลึกเข้าไปในชั้นวัสดุได้ จนบางครั้งอาจยากต่อการขจัดคราบได้แบบทั่วๆ ไป หรือในบางกรณีก็จำต้องเปลี่ยนในจุดนั้นกันไปเลย



ฉะนั้น “การทำความสะอาดแบบในทันที” จึงเป็นคำตอบของการป้องกันสาเหตุจากการเกิดคราบต่างๆ ได้ดีที่สุด

แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะไม่ค่อยรับรู้ในช่วงเริ่มต้นของการสะสมของคราบนั่นเอง ซึ่งไม่ว่าจะเกิดจากการ...
* หลุดร่อนของชั้นเคลือบผิวที่เกิดจากการสัญจรอยู่เป็นประจำ
* การทำความสะอาดที่ไม่ถูกวิธี
* หรือไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง

ทั้งหมดนี้ จึงมักเป็นสาเหตุเบื้องต้นให้คราบสกปรกต่างๆ เข้าไปสะสมฝังแน่นอยู่ตามรูพรุนได้เป็นจำนวนมาก ทั้งคราบด่างดำ,
สีไม่สม่ำเสมอ หรือแม้กระทั่งอาการช้ำน้ำ (ผลพวงจากอัตราการสะสมของคราบสกปรกเหล่านั้น ทำให้โมเลกุลของน้ำไม่สามารถระเหยออกมาได้ตามปกติ)
และซ้ำร้ายเมื่อปล่อยไว้นานวัน อาจเป็นสาเหตุต่อการเสื่อมสภาพของโครงสร้างก่อนอายุขัยได้ในที่สุด



จึงทำให้ในทางฝั่งยุโรป และทาง HG Thailand จึงแนะนำให้คุณเจ้าของบ้านทำการปกป้อง
และดูแลวัสดุอย่างพื้นบ้านให้ยังคงความสวยงาม และมีความยั่งยืน ด้วยการเลือกใช้
* “ผลิตภัณฑ์เคลือบกันซึม” เป็นอันดับแรกก่อนเสมอ เพื่อเป็นการช่วยลดอัตราการสะสมของคราบหนักฝังแน่น
และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นวัสดุได้ในระยะยาว
* “ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นสูตรเฉพาะสำหรับพื้นผิวนั้นๆ” เพราะองค์ประกอบของพื้นแต่ละชนิด
ต้องการการดูแลในแบบที่ถูกต้อง และไม่ทำลายวัสดุโดยเฉพาะชั้นเคลือบผิว ซึ่งจะช่วยคงความสวยงามของพื้นผิว และอายุการใช้งานได้อย่างยาวนานที่สุด

ref

cleanfax.com

sanding.co.uk

slique.com.au

expressflooring.com